ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ระหว่างการสวนสนาม เนื่องใน วันชาติรัฐฉานปีที่ 66 วันที่ 7 ก.พ. 2556
66 ปีวันชาติรัฐฉาน "เจ้ายอดศึก" ระบุไร้สันติภาพ หากพม่าหยุดยิงอีกกลุ่ม-แต่ยังรบอีกกลุ่ม
กองทัพรัฐฉาน SSA จัดงานวันชาติรัฐฉานปีที่ 66 พล.ท.เจ้ายอดศึก เผยนับตั้งแต่เจรจาหยุดยิง มีข้อตกลงกับรัฐบาลพม่าที่ยังไม่คืบหน้ารวมทั้งเรื่องเขตปกครองพิเศษ อย่างไรก็ตามจะยึดวิธีเจรจาต่อไป พร้อมระบุว่าไม่เห็นด้วยที่พม่าโจมตีกองทัพคะฉิ่น ถ้ารัฐบาลพม่าต้องการปรองดองจริงต้องหยุดยิงกับทุกกลุ่ม ยึดหลักยุติธรรมและใช้การเจรจาต่อกัน
เมื่อวันที่ 7 ก.พ. นี้ สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Shan State - RCSS) และกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army - SSA) ได้จัดงานวันชาติรัฐฉานครบรอบปีที่ 66 ที่ดอยไตแลง ฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉาน ที่รัฐฉานตอนใต้ ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โดยในพิธี มีการสวนสนามของทหารกองทัพรัฐฉาน SSA และการปราศรัยจากผู้แทนประชาชน และผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉาน
"เจ้ายอดศึก" ระบุวันชาติรัฐฉาน เป็นวันของทุกชาติพันธุ์ในรัฐ
โดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน (SSA) กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็น "วันเชื้อชาติจึ่งไต" หรือวันชาติรัฐฉานครบรอบปีที่ 66 บางคนในรัฐฉานเข้าใจว่าวันนี้เป็น "วันเครือไต" อยากกล่าวว่าวันนี้ไม่ใช่ "วันเครือไต" เพราะเชื้อชาติที่ว่านั้นเป็นของประชาชนทุกเครือชนชาติที่อยู่ในรัฐฉาน เพราะเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ผู้แทนประชาชนในรัฐฉานจากทุกชนชาติได้มาร่วมกันประชุมที่เมืองปางโหลง วันชาติรัฐฉานจึงถือเป็นวันชาติของทุกเชื้อชาติในรัฐฉาน
ในโอกาสครบรอบปีที่ 66 วันชาติรัฐฉาน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ขอฝากไปยังประชาชนในรัฐฉานและประชาชนในสหภาพพม่าทุกชนชาติว่า สหภาพพม่านั้น ถ้าไม่มีการประชุมในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นวันชาติรัฐฉานนั้น วันเอกราชของสหภาพพม่าก็จะไม่มี ทั้งนี้สัญญาปางโหลงในปี ค.ศ. 1947 ถือเป็นรากฐานของการเมืองสหภาพพม่า ข้าพเจ้าซึ่งเข้าไปเจรจาการเมืองไม่เคยลืมที่จะยึดหลักการของสัญญาปางโหลงดังกล่าว
ขณะที่นายพลออง ซาน กลายเป็นผู้มีความสำคัญ ก็เป็นเพราะได้ผู้แทนจากรัฐชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมาร่วมกันลงนามในสัญญาปางโหลงด้วย จึงขออย่าได้หลงลืมประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามสหภาพพม่าที่ได้ร่วมกันตั้งมานั้น ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ก็มีการรัฐประหารโดยนายพลเนวิน ทำให้ทั้งสหภาพพม่าตกอยู่ในสภาพสงครามกลางเมือง ทำให้ประชาชนประสบความทุกข์ยากลำบาก
สุดท้าย ประธานสภาเพื่อกอบกู้รัฐฉาน ได้เรียกร้องให้ประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานอย่าให้ใครมาเอาเปรียบใคร ขอให้ทุกชนชาติอยู่กันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ให้ร่วมกันสร้างความร่มเย็น อีกประการหนึ่งขอฝากว่าการสร้างความสามัคคีและสันติภาพนั้น รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้บอกว่าจะร่วมมือกับทุกๆ กลุ่ม ซึ่งที่กล่าวมานั้นก็น่านับถืออยู่ อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างสันติภาพถาวรแท้จริงยังไม่เห็นผล เช่น ขณะนี้ยังมีการทำสงครามอยู่ที่รัฐคะฉิ่นนั้น แบบนี้ก็ไม่ใช่แนวทางสร้างสันติภาพ การหยุดยิงกับกลุ่มชนชาติหนึ่ง แต่ไปยิงกับอีกชนชาติหนึ่ง ไม่อาจเป็นแนวทางการสร้างสันติภาพถาวรได้
ขณะที่สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน ได้หยุดยิงกับรัฐบาลพม่ามาได้ปีกว่านั้น อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ไม่คืบหน้า เช่น ที่สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานเสนอขอปกครองพื้นที่เมืองเต๊าะ (หัวเมือง) และเมืองทา ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็ยังไม่ตกลง เรื่องที่จะร่วมมือกันปราบยาเสพติด ฝ่ายพม่าก็ยังไม่ดำเนินการอะไร ทั้งนี้ไม่อยากให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต
โดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ฝากถึงประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉาน ความสามัคคีที่คนในรัฐฉานปรารถนาอยู่ทุกเมื่อนั้น เป็นสิ่งที่ "พูดง่าย ทำยาก" จริงๆ ถ้าพูดว่าต้องการความสามัคคี ก็ไม่ได้แปลว่าจะได้ความสามัคคี เหมือนพูดว่าอยากถึงนิพพาน แล้วพูดบ่อยๆ ว่าอยากนิพพาน แต่ไม่ทำบุญ ไม่บำเพ็ญภาวนา ก็ไปไม่ถึงนิพพาน ดังนั้นการที่จะให้มีความสามัคคี จะต้องมีความเมตตา สัจจะ มีน้ำใจเชื่อถือกัน ช่วยเหลือกัน อย่าเอามานะ โทสะ และโลภะมาใช้ต่อกัน และขอฝากถึงประชาชนทุกชนชาติในรัฐฉาน ขอให้รักษาวัฒนธรรมประเพณี อย่าให้เชื้อชาติเราหาย อนาคตของรัฐฉานจะเจริญรุ่งเรืองได้ ก็อยู่ในกำมือของประชาชนทุกคน
นอกจากนี้มีการกล่าวปราศรัยโดย จายสามทิพย์เสือ ผู้แทนประชาชนจากเมืองเชียงตุง โดยกล่าวปราศรัยเรียกร้องให้ประชาชนในรัฐฉานมีความสามัคคีต่อกัน นอกจากนี้มีผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานกล่าวปราศรัยได้แก่ ผู้แทนจากพรรคก้าวหน้าแห่งชาติรัฐฉาน (Shan State Progrssive Party - SSPP) ซึ่งเป็นปีกทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน-เหนือ ผู้แทนกองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) ผู้แทนจากองค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Liberation Organization - PNLO) ผู้แทนจากสหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (Lahu Democratic Union - LDU) ผู้แทนจากองค์กรแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Organization - PNO) ผู้แทนจากรัฐอาระกัน และผู้แทนจากรัฐมอญ เป็นต้น
ระบุมีการหารือกับผู้แทนชาติพันธุ์ในรัฐฉาน-พม่า เรื่องการปรองดอง
ทั้งนี้มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานและกองทัพรัฐฉาน ได้จัดเลี้ยงอาหารให้กับผู้แทนจากกลุ่มทางการเมืองและกองกำลังของชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานและในพม่า และตัวแทนประชาชนจากรัฐฉานกว่า 50 เมือง ที่มาร่วมงานวันชาติ โดยที่น่าสนใจก็คือมีการเชิญผู้แทนจากองค์กรแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) มาร่วมงานเลี้ยงด้วย โดยองค์กรคะฉิ่น KIO ดังกล่าว ต้องทำสงครามกับกองทัพรัฐบาลพม่ามาตั้งแต่กลางปี 2554 และทั้งรัฐบาลพม่าและองค์กรคะฉิ่น KIO มีการหารือกันเพื่อหยุดยิงหลายครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้
โดยหลังงานพิธีวันชาติรัฐฉาน พล.ท.เจ้ายอดศึก ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระบุว่า ในการพบปะกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานและในพม่านั้น มีการหารือกันในเรื่องการสร้างความสามัคคีและการปรองดองในสหภาพพม่า แต่ไม่ได้มีมติอะไรออกมา ส่วนเรื่องคะฉิ่นนั้นมีการพูดคุยกัน โดยเห็นว่าการที่รัฐบาลพม่าสร้างการปรองดองกับกลุ่มหนึ่ง แล้วยิงกับอีกกลุ่มหนึ่งเราไม่เห็นด้วย ถ้าอยากสร้างการปรองดองต้องหยุดยิงทุกกลุ่ม ปัญหาทุกอย่างต้องใช้วิธีการเจรจา ข้อเรียกร้องก็คืออยากให้สันติภาพเกิดขึ้น ที่ผ่านมาหลังการเจรจากับรัฐบาลพม่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2554 พม่าระบุว่าจะมอบเขตปกครองพิเศษให้ มีการลงนามแล้ว แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มอบให้ ซึ่งฝ่ายสภากอบกู้รัฐฉานจะใช้วิธีเจรจาต่อไป
เมื่อถามว่าประชาชนในรัฐฉาน ทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์สู้รบที่เมืองไลซา ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มคะฉิ่นหรือไม่นั้น พล.ท.เจ้ายอดศึกตอบว่า ทราบข่าว และรู้สึกไม่ดี โดยเห็นว่าถ้าสร้างการปรองดองแล้ว ต้องหยุดยิงทุกกลุ่ม ยึดความยุติธรรมและใช้การเจรจา หากใช้กองทัพแล้วมารบกัน จะแก้ปัญหาไม่ได้
ผลจากการหยุดยิง และวันชาติในปีที่ 66
สำหรับวันชาติรัฐฉาน เป็นการรำลึกถึงระหว่างการประชุมของบรรดาเจ้าฟ้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนในรัฐฉานที่เมืองปางโหลง ภาคใต้ของรัฐฉาน เมื่อวันที่ 3 - 12 ก.พ. 2490 โดยในวันที่ 7 ก.พ. ที่ประชุมร่วมกันออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐ และขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าชาวปะหล่อง ซึ่งปกครองเมืองน้ำสั่น ทางภาคเหนือรัฐฉาน และเป็นประธานสภาสหพันธรัฐฉานขณะนั้นได้กำหนดให้ผืนธงสีเหลือง เขียว แดง และวงกลมสีขาว พร้อมด้วยเพลงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นของชาวรัฐฉานทั้งมวล และชนชาติในรัฐฉานได้ถือเอาวันที่ 7 ก.พ. เป็นวันชาติรัฐฉานพร้อมจัดงานฉลองทุกปี
ขณะที่หลังจากมีการตั้งสหภาพพม่าในปี 2491 ในรัฐฉานก็มีความพยายามทั้งในทางการเมืองและการทหารขอแยกตัวออกจากสหภาพพม่ามาอย่างยาวนาน โดยในวันที่ 21 พ.ค. ปี 2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าในนามกลุ่ม "หนุ่มศึกหาญ" ขึ้นที่อำเภอเมืองหาง เขตเมืองโต๋น ในรัฐฉานตอนใต้ ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน
โดยกองทัพรัฐฉาน หรือ SSA ที่นำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึก นั้น เกิดขึ้นหลังจากนำทหารจำนวนหนึ่งแยกตัวออกจากขุนส่า ภายหลังจากที่ขุนส่านำกองทัพเมิงไต หรือ MTA (Mong Tai Army) วางอาวุธแก่รัฐบาลพม่าในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2539 และต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลพม่า กระทั่งต่อมาหลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเมื่อ 7 พ.ย. ปี 2553 และเต็ง เส่ง เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีพม่าเมื่อ 31 มี.ค. ปี 2554 นั้น รัฐบาลของเต็ง เส่ง ได้มีการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังของกลุ่มชนชาติในพม่าหลายกลุ่ม รวมทั้งกองทัพรัฐฉานด้วย
โดยเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ปี 2554 มีการเจรจาครั้งแรกระหว่างฝ่ายสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน ซึ่งเป็นปีกทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่า ที่ชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.เชียงราย โดยทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดยิง และหลังจากนั้นมีการเจรจากันอีกหลายครั้ง โดยกองทัพรัฐฉานเสนอขอพื้นที่ปกครองตนเอง 2 แห่ง คือเมืองเต๊าะ (หัวเมือง) และเมืองทา อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคืบหน้าจากฝ่ายรัฐบาลพม่า ขณะเดียวกันยังคงมีการรายงานการปะทะกันระหว่างกองทัพรัฐฉาน และกองทัพพม่าอยู่ประปราย โดยฝ่ายกองทัพรัฐฉานมักจะระบุว่าเป็นเพราะทหารพม่าเคลื่อนกำลังเข้ามาในพื้นที่ซึ่งกองทัพรัฐฉานดูแล
ขณะที่ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมปี 2555 ที่ผ่านมา มีการประชุมระหว่างรัฐบาลพม่า กับสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด หรือ UNODC ที่เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ตรงข้าม อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในประเด็นเรื่องการร่วมกันขจัดปัญหายาเสพติดในรัฐฉาน โดยตกลงร่วมกันสำรวจพื้นที่เพื่อทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น เพื่อนำไปสู่การขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน
เมื่อวันที่ 7 ก.พ. นี้ สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Restoration Council of Shan State - RCSS) และกองทัพรัฐฉาน (Shan State Army - SSA) ได้จัดงานวันชาติรัฐฉานครบรอบปีที่ 66 ที่ดอยไตแลง ฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉาน ที่รัฐฉานตอนใต้ ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โดยในพิธี มีการสวนสนามของทหารกองทัพรัฐฉาน SSA และการปราศรัยจากผู้แทนประชาชน และผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉาน
ประชาชนเข้าร่วมงานพิธีวันชาติรัฐฉานปีที่ 66 ซึงจัดที่ดอยไตแลง ฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉาน SSA ในรัฐฉาน ตรงข้ามกับ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ผ่านมา
ผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉาน และพม่า ร่วมงานวันชาติรัฐฉานปีที่ 66
ซึ่งจัดที่ดอยไตแลง ฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉาน SSA เมื่อ 7 ก.พ. 2556
ซึ่งจัดที่ดอยไตแลง ฐานที่มั่นของกองทัพรัฐฉาน SSA เมื่อ 7 ก.พ. 2556
พล.ท. เจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS กล่าวสุนทรพจน์ในวันชาติรัฐฉาน 7 ก.พ. 2556
ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ระหว่างการสวนสนาม เนื่องในวันชาติรัฐฉานปีที่ 66 วันที่ 7 ก.พ. 2556
ทหารกองทัพรัฐฉาน SSA ระหว่างการสวนสนาม เนื่องในวันชาติรัฐฉานปีที่ 66 วันที่ 7 ก.พ. 2556
"เจ้ายอดศึก" ระบุวันชาติรัฐฉาน เป็นวันของทุกชาติพันธุ์ในรัฐ
โดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ซึ่งเป็นองค์กรทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน (SSA) กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็น "วันเชื้อชาติจึ่งไต" หรือวันชาติรัฐฉานครบรอบปีที่ 66 บางคนในรัฐฉานเข้าใจว่าวันนี้เป็น "วันเครือไต" อยากกล่าวว่าวันนี้ไม่ใช่ "วันเครือไต" เพราะเชื้อชาติที่ว่านั้นเป็นของประชาชนทุกเครือชนชาติที่อยู่ในรัฐฉาน เพราะเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) ผู้แทนประชาชนในรัฐฉานจากทุกชนชาติได้มาร่วมกันประชุมที่เมืองปางโหลง วันชาติรัฐฉานจึงถือเป็นวันชาติของทุกเชื้อชาติในรัฐฉาน
ในโอกาสครบรอบปีที่ 66 วันชาติรัฐฉาน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ขอฝากไปยังประชาชนในรัฐฉานและประชาชนในสหภาพพม่าทุกชนชาติว่า สหภาพพม่านั้น ถ้าไม่มีการประชุมในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1947 ซึ่งเป็นวันชาติรัฐฉานนั้น วันเอกราชของสหภาพพม่าก็จะไม่มี ทั้งนี้สัญญาปางโหลงในปี ค.ศ. 1947 ถือเป็นรากฐานของการเมืองสหภาพพม่า ข้าพเจ้าซึ่งเข้าไปเจรจาการเมืองไม่เคยลืมที่จะยึดหลักการของสัญญาปางโหลงดังกล่าว
ขณะที่นายพลออง ซาน กลายเป็นผู้มีความสำคัญ ก็เป็นเพราะได้ผู้แทนจากรัฐชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมาร่วมกันลงนามในสัญญาปางโหลงด้วย จึงขออย่าได้หลงลืมประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตามสหภาพพม่าที่ได้ร่วมกันตั้งมานั้น ในปี ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ก็มีการรัฐประหารโดยนายพลเนวิน ทำให้ทั้งสหภาพพม่าตกอยู่ในสภาพสงครามกลางเมือง ทำให้ประชาชนประสบความทุกข์ยากลำบาก
สุดท้าย ประธานสภาเพื่อกอบกู้รัฐฉาน ได้เรียกร้องให้ประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานอย่าให้ใครมาเอาเปรียบใคร ขอให้ทุกชนชาติอยู่กันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ให้ร่วมกันสร้างความร่มเย็น อีกประการหนึ่งขอฝากว่าการสร้างความสามัคคีและสันติภาพนั้น รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่งได้บอกว่าจะร่วมมือกับทุกๆ กลุ่ม ซึ่งที่กล่าวมานั้นก็น่านับถืออยู่ อย่างไรก็ตามกระบวนการสร้างสันติภาพถาวรแท้จริงยังไม่เห็นผล เช่น ขณะนี้ยังมีการทำสงครามอยู่ที่รัฐคะฉิ่นนั้น แบบนี้ก็ไม่ใช่แนวทางสร้างสันติภาพ การหยุดยิงกับกลุ่มชนชาติหนึ่ง แต่ไปยิงกับอีกชนชาติหนึ่ง ไม่อาจเป็นแนวทางการสร้างสันติภาพถาวรได้
ขณะที่สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน ได้หยุดยิงกับรัฐบาลพม่ามาได้ปีกว่านั้น อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ไม่คืบหน้า เช่น ที่สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานเสนอขอปกครองพื้นที่เมืองเต๊าะ (หัวเมือง) และเมืองทา ฝ่ายรัฐบาลพม่าก็ยังไม่ตกลง เรื่องที่จะร่วมมือกันปราบยาเสพติด ฝ่ายพม่าก็ยังไม่ดำเนินการอะไร ทั้งนี้ไม่อยากให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต
โดย พล.ท.เจ้ายอดศึก ฝากถึงประชาชนทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉาน ความสามัคคีที่คนในรัฐฉานปรารถนาอยู่ทุกเมื่อนั้น เป็นสิ่งที่ "พูดง่าย ทำยาก" จริงๆ ถ้าพูดว่าต้องการความสามัคคี ก็ไม่ได้แปลว่าจะได้ความสามัคคี เหมือนพูดว่าอยากถึงนิพพาน แล้วพูดบ่อยๆ ว่าอยากนิพพาน แต่ไม่ทำบุญ ไม่บำเพ็ญภาวนา ก็ไปไม่ถึงนิพพาน ดังนั้นการที่จะให้มีความสามัคคี จะต้องมีความเมตตา สัจจะ มีน้ำใจเชื่อถือกัน ช่วยเหลือกัน อย่าเอามานะ โทสะ และโลภะมาใช้ต่อกัน และขอฝากถึงประชาชนทุกชนชาติในรัฐฉาน ขอให้รักษาวัฒนธรรมประเพณี อย่าให้เชื้อชาติเราหาย อนาคตของรัฐฉานจะเจริญรุ่งเรืองได้ ก็อยู่ในกำมือของประชาชนทุกคน
นอกจากนี้มีการกล่าวปราศรัยโดย จายสามทิพย์เสือ ผู้แทนประชาชนจากเมืองเชียงตุง โดยกล่าวปราศรัยเรียกร้องให้ประชาชนในรัฐฉานมีความสามัคคีต่อกัน นอกจากนี้มีผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานกล่าวปราศรัยได้แก่ ผู้แทนจากพรรคก้าวหน้าแห่งชาติรัฐฉาน (Shan State Progrssive Party - SSPP) ซึ่งเป็นปีกทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน-เหนือ ผู้แทนกองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) ผู้แทนจากองค์กรปลดปล่อยแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Liberation Organization - PNLO) ผู้แทนจากสหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (Lahu Democratic Union - LDU) ผู้แทนจากองค์กรแห่งชาติปะโอ (Pa-O National Organization - PNO) ผู้แทนจากรัฐอาระกัน และผู้แทนจากรัฐมอญ เป็นต้น
ระบุมีการหารือกับผู้แทนชาติพันธุ์ในรัฐฉาน-พม่า เรื่องการปรองดอง
ทั้งนี้มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉานและกองทัพรัฐฉาน ได้จัดเลี้ยงอาหารให้กับผู้แทนจากกลุ่มทางการเมืองและกองกำลังของชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานและในพม่า และตัวแทนประชาชนจากรัฐฉานกว่า 50 เมือง ที่มาร่วมงานวันชาติ โดยที่น่าสนใจก็คือมีการเชิญผู้แทนจากองค์กรแห่งอิสรภาพคะฉิ่น (KIO) มาร่วมงานเลี้ยงด้วย โดยองค์กรคะฉิ่น KIO ดังกล่าว ต้องทำสงครามกับกองทัพรัฐบาลพม่ามาตั้งแต่กลางปี 2554 และทั้งรัฐบาลพม่าและองค์กรคะฉิ่น KIO มีการหารือกันเพื่อหยุดยิงหลายครั้ง แต่ไม่สามารถตกลงกันได้
โดยหลังงานพิธีวันชาติรัฐฉาน พล.ท.เจ้ายอดศึก ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวระบุว่า ในการพบปะกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐฉานและในพม่านั้น มีการหารือกันในเรื่องการสร้างความสามัคคีและการปรองดองในสหภาพพม่า แต่ไม่ได้มีมติอะไรออกมา ส่วนเรื่องคะฉิ่นนั้นมีการพูดคุยกัน โดยเห็นว่าการที่รัฐบาลพม่าสร้างการปรองดองกับกลุ่มหนึ่ง แล้วยิงกับอีกกลุ่มหนึ่งเราไม่เห็นด้วย ถ้าอยากสร้างการปรองดองต้องหยุดยิงทุกกลุ่ม ปัญหาทุกอย่างต้องใช้วิธีการเจรจา ข้อเรียกร้องก็คืออยากให้สันติภาพเกิดขึ้น ที่ผ่านมาหลังการเจรจากับรัฐบาลพม่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2554 พม่าระบุว่าจะมอบเขตปกครองพิเศษให้ มีการลงนามแล้ว แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มอบให้ ซึ่งฝ่ายสภากอบกู้รัฐฉานจะใช้วิธีเจรจาต่อไป
เมื่อถามว่าประชาชนในรัฐฉาน ทราบข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์สู้รบที่เมืองไลซา ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มคะฉิ่นหรือไม่นั้น พล.ท.เจ้ายอดศึกตอบว่า ทราบข่าว และรู้สึกไม่ดี โดยเห็นว่าถ้าสร้างการปรองดองแล้ว ต้องหยุดยิงทุกกลุ่ม ยึดความยุติธรรมและใช้การเจรจา หากใช้กองทัพแล้วมารบกัน จะแก้ปัญหาไม่ได้
ผลจากการหยุดยิง และวันชาติในปีที่ 66
สำหรับวันชาติรัฐฉาน เป็นการรำลึกถึงระหว่างการประชุมของบรรดาเจ้าฟ้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนในรัฐฉานที่เมืองปางโหลง ภาคใต้ของรัฐฉาน เมื่อวันที่ 3 - 12 ก.พ. 2490 โดยในวันที่ 7 ก.พ. ที่ประชุมร่วมกันออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐ และขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าชาวปะหล่อง ซึ่งปกครองเมืองน้ำสั่น ทางภาคเหนือรัฐฉาน และเป็นประธานสภาสหพันธรัฐฉานขณะนั้นได้กำหนดให้ผืนธงสีเหลือง เขียว แดง และวงกลมสีขาว พร้อมด้วยเพลงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นของชาวรัฐฉานทั้งมวล และชนชาติในรัฐฉานได้ถือเอาวันที่ 7 ก.พ. เป็นวันชาติรัฐฉานพร้อมจัดงานฉลองทุกปี
ขณะที่หลังจากมีการตั้งสหภาพพม่าในปี 2491 ในรัฐฉานก็มีความพยายามทั้งในทางการเมืองและการทหารขอแยกตัวออกจากสหภาพพม่ามาอย่างยาวนาน โดยในวันที่ 21 พ.ค. ปี 2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าในนามกลุ่ม "หนุ่มศึกหาญ" ขึ้นที่อำเภอเมืองหาง เขตเมืองโต๋น ในรัฐฉานตอนใต้ ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน
โดยกองทัพรัฐฉาน หรือ SSA ที่นำโดย พล.ท.เจ้ายอดศึก นั้น เกิดขึ้นหลังจากนำทหารจำนวนหนึ่งแยกตัวออกจากขุนส่า ภายหลังจากที่ขุนส่านำกองทัพเมิงไต หรือ MTA (Mong Tai Army) วางอาวุธแก่รัฐบาลพม่าในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2539 และต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลพม่า กระทั่งต่อมาหลังจากมีการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าเมื่อ 7 พ.ย. ปี 2553 และเต็ง เส่ง เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีพม่าเมื่อ 31 มี.ค. ปี 2554 นั้น รัฐบาลของเต็ง เส่ง ได้มีการเจรจาหยุดยิงกับกองกำลังของกลุ่มชนชาติในพม่าหลายกลุ่ม รวมทั้งกองทัพรัฐฉานด้วย
โดยเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ปี 2554 มีการเจรจาครั้งแรกระหว่างฝ่ายสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน ซึ่งเป็นปีกทางการเมืองของกองทัพรัฐฉาน SSA และรัฐบาลพม่า ที่ชายแดนไทย-พม่า ด้าน จ.เชียงราย โดยทั้งสองฝ่ายตกลงหยุดยิง และหลังจากนั้นมีการเจรจากันอีกหลายครั้ง โดยกองทัพรัฐฉานเสนอขอพื้นที่ปกครองตนเอง 2 แห่ง คือเมืองเต๊าะ (หัวเมือง) และเมืองทา อย่างไรก็ตามยังไม่มีความคืบหน้าจากฝ่ายรัฐบาลพม่า ขณะเดียวกันยังคงมีการรายงานการปะทะกันระหว่างกองทัพรัฐฉาน และกองทัพพม่าอยู่ประปราย โดยฝ่ายกองทัพรัฐฉานมักจะระบุว่าเป็นเพราะทหารพม่าเคลื่อนกำลังเข้ามาในพื้นที่ซึ่งกองทัพรัฐฉานดูแล
ขณะที่ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมปี 2555 ที่ผ่านมา มีการประชุมระหว่างรัฐบาลพม่า กับสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน และสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด หรือ UNODC ที่เมืองท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ตรงข้าม อ.แม่สาย จ.เชียงราย ในประเด็นเรื่องการร่วมกันขจัดปัญหายาเสพติดในรัฐฉาน โดยตกลงร่วมกันสำรวจพื้นที่เพื่อทำโครงการนำร่องปลูกพืชทดแทนฝิ่น เพื่อนำไปสู่การขจัดยาเสพติดในรัฐฉาน