ประเทศมาเลเซีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเลเซีย
Malaysia; مليسيا (มาเลย์)
| ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||
คำขวัญ: Bersekutu Bertambah Mutu ("ความเป็นเอกภาพคือพลัง") | ||||||
เพลงชาติ: เนการากู | ||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | กัวลาลัมเปอร์1 2°30′N 112°30′E | |||||
ภาษาทางการ | ภาษามาเลย์ | |||||
การปกครอง | สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | |||||
- | ผู้ปกครองสูงสุด | สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์ | ||||
- | นายกรัฐมนตรี | นาจิบ ราซะก์ | ||||
เอกราช | ||||||
- | จาก อังกฤษ (เฉพาะมลายา) | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 | ||||
- | การสร้างชาติรวมซาบาห์ ซาราวักและสิงคโปร์ | 16 กันยายน พ.ศ. 2506 | ||||
พื้นที่ | ||||||
- | รวม | 329,847 ตร.กม. (66) 127,287 ตร.ไมล์ | ||||
- | แหล่งน้ำ (%) | 0.3 | ||||
ประชากร | ||||||
- | 2555 (ประเมิน) | 29,120,000 (44) | ||||
- | 2549 (สำมะโน) | 23,953,136 | ||||
- | ความหนาแน่น | 82 คน/ตร.กม. (109) 211 คน/ตร.ไมล์ | ||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2549 (ประมาณ) | |||||
- | รวม | 180.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ธนาคารโลก) (36) | ||||
- | ต่อหัว | 12,700 ดอลลาร์สหรัฐ (61) | ||||
HDI (2550) | 0.829 (สูง) (66) | |||||
สกุลเงิน | ริงกิต (RM) (MYR ) | |||||
เขตเวลา | MST (UTC+8) | |||||
- | (DST) | Not observed (UTC+8) | ||||
ระบบจราจร | ซ้ายมือ | |||||
โดเมนบนสุด | .my | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 602 | |||||
1. ปุตราจายาเป็นที่ตั้งรัฐบาล 2. 020 เมื่อโทรฯ จาก สิงคโปร์ |
มาเลเซีย (มาเลย์: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพื้นที่ 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ มาเลเซียตะวันตก อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิส และเกดะห์ และติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ ส่วนที่ 2 คือ มาเลเซียตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซียทุกส่วนของมาเลเซียตะวันตก แต่ล้อมรอบประเทศบรูไนดารุสซาลามด้วยรัฐซาราวักเพียงรัฐเดียว มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน
ภูมิศาสตร์[แก้]
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
- มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
- มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]
- ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรส ↑ ↑
ชื่อ[แก้]
ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายาสิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย
ประวัติศาสตร์[แก้]
ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และกลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างน่าสนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัตช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น
การเมือง[แก้]
ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ ประกอบไปด้วย เปรัค ปาหัง สลังงอร์ ไทรบุรี เคดาห์ เนกรีเซมบิลัน ยะโฮร์ กลันตัน ตรังกานู ปีนัง มะละกา ซาบาห์ และซาราวัค และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีการปกครองในรูปแบบคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่
รัฐ[แก้]
|
ดินแดนสหพันธ์[แก้]
มาเลเซียตะวันตก
- กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์)
- ปุตราจายา (ปุตราจายา)
มาเลเซียตะวันออก
และก้มีเมีองหลวงคือกรุงกัวลาลัมเปอร์
เมืองใหญ่สุด[แก้]
ที่ | เมือง | รัฐ | ประชากร | ที่ | เมือง | รัฐ | ประชากร | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กัวลาลัมเปอร์ | 1 | กัวลาลัมเปอร์ | กัวลาลัมเปอร์ | 1,674,621 | 11 | มะละกา | รัฐมะละกา | 503,127 | กาจัง |
2 | ยะโฮร์บาห์รู | รัฐยะโฮร์ | 1,386,569 | 12 | โกตาบารู | รัฐกลันตัน | 491,237 | ||
3 | กาจัง | รัฐสลังงอร์ | 795,522 | 13 | โกตากินะบะลู | รัฐซาบาห์ | 462,963 | ||
4 | อีโปห์ | รัฐเประ | 767,794 | 14 | กวนตัน | รัฐปะหัง | 461,906 | ||
5 | กลัง | รัฐสลังงอร์ | 744,062 | 15 | ซูไงปตานี | รัฐเกดะห์ | 456,605 | ||
6 | ซูบังจายา | รัฐสลังงอร์ | 708,296 | 16 | บาตูปาฮัต | รัฐยะโฮร์ | 417,458 | ||
7 | กูชิง | รัฐซาราวัก | 617,887 | 17 | ตาเวา | รัฐซาบาห์ | 412,375 | ||
8 | ปตาลิงจายา | รัฐสลังงอร์ | 613,977 | 18 | ซันดากัน | รัฐซาบาห์ | 409,056 | ||
9 | สเรมบัน | รัฐเนกรีเซมบีลัน | 555,935 | 19 | อลอร์สตาร์ | รัฐเกดะห์ | 366,787 | ||
10 | จอร์จทาวน์ | รัฐปีนัง | 520,202 | 20 | กัวลาตรังกานู | รัฐตรังกานู | 343,284 |
กองทัพ[แก้]
- ดูบทความหลักที่ กองทัพมาเลเซีย
กองทัพบก[แก้]
- ดูบทความหลักที่ กองทัพบกมาเลเซีย
กองทัพอากาศ[แก้]
- ดูบทความหลักที่ กองทัพอากาศมาเลเซีย
กองทัพเรือ[แก้]
- ดูบทความหลักที่ กองทัพเรือมาเลเซีย
กองกำลังกึ่งทหาร[แก้]
ต่างประเทศ[แก้]
ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย[แก้]
เศรษฐกิจ[แก้]
- เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน
- การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ
- การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย
- อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs)
ประชากร[แก้]
ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17) [1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี
ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ,ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์
ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง
วัฒนธรรม[แก้]
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเซีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมะละกา ประชากรนับถืออิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมืองแห่งกรมตำรวจภูธรมาเลเซีย 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนเรื่องค่าครองชีพตามนโยบายของรัฐบาล "ภูมิบุตร.
กีฬา[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ: Malaysia |
|