วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

ท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมาย D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา www.d-housegroup.com

www.d-housegroup.comท่านที่ปรึกษาระดับสูง ด้านกฏหมายและทนายความ D-HOUSE GROUP นาย อธิกิจ เจษฏาญานเมธา
















กฏหมายสิ่งแวดล้อม




                  กฏหมายสิ่งแวดล้อมเป็นกฏหมายที่มีคุณลักษณะพิเศษกล่าวคือจะความเกี่ยวพันกับ ศาสตร์ในสาขาอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ฯลฯ กฏหมายสิ่งแวดล้อมจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทุกชนิดครอบ คลุมทั้งสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมของไทยคือ เพื่อคุ้มครองและสงวนรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศของธรรมชาติรวทั้งพลเมืองของชาติ จากกิจกรรมใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
   พระ ราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ถือได้ว่าเป็นกฏหมายแม่บทที่ใช้ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันกล่าวคือ มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ครอบคลุมถึงการจัดการปัญหามลพิษทุกรูปแบบะสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับบนี้ยังได้มีการนำหลักการใหม่ๆมาใช้ในการจัดการสิ่งแวด ล้อม อาทิเช่น หลักผู้ก่อมลพิษต้องจ่าย การยอมรับบทบาทของประชาชนและองค์การพัฒนาเอกชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อม การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฯลฯ รวมทั้งหลักการที่สำคัญอีกหลายประการดังที่ปรากฏในหมายเหตุท้ายพระราช บัญญัติดังกล่าว ดังนี้
      ๑) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๒) จัดระบบการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไตามหลักการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
      ๓) กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและราชการส่วนท้องถิ่นให้เกิดการประสานงาน และมีหน้าที่ร่วมกันในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกำหนดแนวทางปฏิบัติในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง
      ๔) กำหนดมาตรการควบคุมมลพิษด้วยการจัดให้มีระบบบำบัดอากาศเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบกำจัดของเสีย และเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับมลพิษ
      ๕) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดมลพิษให้เป็นไปโดยชัดเจน
      ๖) กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านกองทุนและความช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ความรับผิดในคดีสิ่งแวดล้อม

ความรับผิดทางแพ่ง
    ใน การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งโดยทั่วไปนั้น ผู้เสียหายจะต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับความเสีย หายที่ได้รับว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือไม่อน่างไรซึ่งเป็นแนวคิด จากทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ทฤษฎีนี้ได้ใช้พิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดโดยพิจารณาถึงเงื่อนไขและความ เหมาะสมชองเหตุและผลของการกระทำนั้นเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าข้อกล่าวอ้างของตน เป็นความจริงและความเสียหายที่ได้รับเป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยจงใจหรือ ประมาทเลินเล่อของจำเลยในคดีนั้น ซึ่งในคดีสิ่งแวดล้อมการที่จะพิสูจน์ให้ได้ครบองค์ประกอบเช่นนั้นถือเป็น ภาระและความยากลำบากอย่างยิ่ง

ความรับผิดทางอาญา
มาตรา การลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำผิดในคดีสิ่งแวดล้อมนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แตก ต่างออกไปตามลักษณะของโทษ กล่าวคือ โทษประหารชีวิตและจำคุกมีวัตถุประสงค์ที่จะตัดโอกาสผู้กระทำความผิดออกไปจาก สังคมมิให้มีโอกาสได้กระทำผิดเช่นนั้นอีก รวมทั้งเพื่อป้องปราบและยับยั้งบุคคลอื่นมิให้กล้าที่จะกระทำความผิดเช่น เดียวกันนั้น ส่วนการริบทรัพย์สินนั้นจะมีวัตถุประสงค์เป็นการป้องกันและตัดโอกาสผู้กระทำ ผิดที่จะใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นในการกระทำความผิด กล่าวโดยรวมแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ของการลงโทษผู้กระทำความผิดในคดี สิ่งแวดล้อมนั้นจะมีลักษณะเป็นการป้องกันโดยการยับยั้งผู้กระทำความผิดให้ เกิดความเกรงกลัวและตัดโอกาสมิให้ได้รับความสะดวกที่จะกระทำความผิด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหากถูกทำลายไปแล้วไม่อาจฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพที่ดี ดังเดิมได้ ดังนั้นดารป้องกันปัญหาจึงเป็นมาตรการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ความรับผิดทางปกครอง
มาตรการ ทางปกครอง ได้แก่ ระบบทะเบียนและระบบการอนุญาตดำเนินการต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของสิ่ง แวดล้อมและอุตสาหกรรม มาตรการทางปกครองเพื่อการคุ้มครองความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้มี การดำเนินการภายใต้การควบคุมขององค์กรเฉพาะที่มีอำนาจในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และในระดับชาติ โดยทีการจัดองค์กรและรูปแบบการดำเนินงานที่แตกต่างกันๆไป โดยที่ในบางประเทศจะดำเนินการโดยองค์กรเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางควบ คุมทุกภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมทางอุตสาหกรรมในท้องถิ่น 

_____________________________________________________________________________________________

อ้างอิง
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายว่าด้วยความเสียหายทางสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น