| เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ | |
| | |
|
| ภาษีโรงเรือนและที่ดิน | |
| |
| | |
| ภาษีโรงเรือน และทีดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนนั้น ๆ และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้างนั้น
- โรงเรือน หมายถึง บ้านตึกแถว ร้านค้า สำนักงาน ธนาคาร โรงแรม ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร
- สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ หมายถึง ท่าเรือ สะพาน แพ คานเรือ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีลักษณะการก่อสร้างติดกับที่ดินเป็นการถาวร ที่ดินซึ่งใช่ ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ หมายถึง ที่ดินซึ่งปลูกโรงเรือหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นและ บริเวณต่อเนื่องกัน ซึ่งตามปกติใช้ไปด้วยกันกับโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หมายถึง ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
| |
| ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน | |
| ผู้รับประเมิน (เจ้าของทรัพย์สิน จะต้องยื่นแบบ(ภ.ร.ด. 2) ณ ส่วนการคลัง งานจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบล ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เมื่อผู้รับประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษี (แบบ ภ.ร.ด. 8 ) จะต้องชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งค่าภาษี
| |
| การยื่นอุทธรณ์ | |
| เมื่อผู้รับ การประเมินได้รับใบแจ้งการประเมินค่าภาษีแล้วไม่พอใจในการประเมินค่าภาษี ให้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินค่าภาษีใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินภาษี (ภ.ร.ด. 8 )
| |
| อัตราค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน | |
| ผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี (ค่าเช่า)
| |
| การไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนดเวลา | |
| กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท กรณีผู้รับการประเมินไม่ชำระค่าภาษีภายใน 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้ง
การประเมินค่าภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก ดังนี้ • ค้างชำระไม่เกิน 1 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2.5 ของค่าภาษี • ค้างชำระเกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 5 ของค่าภาษี • ค้างชำระเกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 7.5 ของค่าภาษี • ค้างชำระเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือนจะต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 10 ของค่าภาษี
ตามพระราช บัญญัติภาษีโรงเรือนแบะที่ดินพ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2543 มาตรา 44 กำหนดว่า “ ถ้ามิได้การชำระภาษี และเงินเพิ่มภายใน 4 เดือนให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระ ภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็น ค่าภาษีเงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม ”
|
|
|
| ภาษีป้าย | |
| |
| | |
| ภาษีป้าย เป็นภาษีจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำขึ้นให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น | |
| | |
| ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย | |
| | |
| การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย | |
| ผู้เป็นเจ้าขอป้ายจะต้องยื่น แบบ ภ.ป. 1 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี กรณีที่ติดตั้งป้ายใหม่ จะต้องยื่นแบบ ภ.ป. 1 ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งใหม่ | |
| | |
| การชำระเงินค่าภาษี | |
| ผู้เป็นเจ้าของป้ายจะต้องขำระค่าภาษี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับแจ้งการประเมินหรือชำระค่าภาษีในวันที่ ยื่นแบบเลยก็ได้ | |
| | |
| อัตราค่าภาษีป้าย | |
| ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนคิดอัตราร้อยละ 3 บาท /500 ซม. ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศหรือปนกับภาพและ เครื่องหมายอื่น คิดในอัตรา 20 บาท /500 ตารางเซนติเมตร ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศติด ในอัตรา 40 บาท /500 ตารางเซนติเมตร เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้าย 200 บาท | |
| | |
| การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีป้ายในกำหนดเวลา | |
| ผู้เป็นเจ้าจองรายได้ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี | |
| | |
|
| ภาษีบำรุงท้องที่ | |
| |
| | |
| ภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่จัดเก็บจาก “ ที่ดิน ” ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือที่มีน้ำด้วย | |
| | |
| การชำระเงินภาษีบำรุงท้องที่ | |
| ผู้มีหน้าที่เสียภาษี จะต้องชำระเงินค่าภาษีบำรุงท้องที่ ภายในวันที่ 30 เมษายน ของทุกปี | |
| | |
| การไม่ยื่นแบบและชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนดเวลา | |
| กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ยื่นแบบภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินค่าภาษี กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษี ไม่ชำระค่าภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ของจำนวนเงินค่าภาษีต่อเดือน |
การเลือกป้ายให้เหมาะสม
ตอบลบองค์ประกอบหลักๆ บนป้ายโฆษณาประกอบไปด้วย ข้อความและภาพและสีสัน ทุกอย่างต้องสมดุลกัน ไม่ขัดกันเอง ไม่ทำให้รู้สึกไม่สบายตา สำหรับภาพจะต้องสื่อสารกับผู้อ่านอย่างใดอย่างหนึ่ง หลักง่ายๆ ในการจัดองค์ประกอบบนป้ายโฆษณา คือ ตัวอักษรต้องเด่นชัด อ่านง่าย ตัวใหญ่ ใช้ข้อความที่กระชับ แต่สื่อความหมายได้ดี (ไม่สั้นเกินไปและไม่ยาวเกินไป) ซึ่งในองค์ประกอบนี้เป็นงานที่ท้าทายมาก เพราะเป็นตัวชี้วัดได้เลยว่าจะไปกระทบความรู้สึกของคนอ่านได้หรือไม่ ถ้าข้อความโดนหลังจากอ่านแล้ว ผู้อ่านจะเกิดความอยากได้สินค้าของเราทันที
สื่อโฆษณาคือ ?
ตอบลบสื่อโฆษณาคือ เครื่องมือทางการตลาดชิ้นหนึ่ง ที่มีหน้าที่นำพาข่าวสารที่ผู้โฆษณาต้องการให้ผู้บริโภค ได้รับรู้
และเกิดความต้องการในสินค้าการที่ผู้โฆษณาจะประสบความสำเร็จทางด้านการสื่อสารผู้โฆษณาควรที่จะรู้จักลักษณะของสื่อโฆษณาแต่ละชนิดเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
สื่อโฆษณาที่นิยมใช้ โดยทั่วไป ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์สื่อดังกล่าวเป็นสื่อหลักที่ใช้กันเป็นส่วนมาก ในงานโฆษณาเนื่องจากเป็นสื่อมวลชนที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากดังนั้นในการวางแผนการใช้สื่องบประมาณด้านสื่อส่วนใหญ่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่สื่อเหล่านี้เป็นอันดับแรกสำหรับสื่อ ณ จุดซื้อ แผ่นพับ ใบปลิว สื่อนอกสถานที่ เช่นแผ่นป้ายต่างๆจะมีความสำคัญในฐานะเป็นสื่อสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่ในการเตือนความจำผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า
การออกแบบงานป้าย
ตอบลบปัจจุบันการทำป้ายโฆษณาค่อนข้างสะดวกสบาย สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานด้านการออกแบบเลยก็สามารถจ้างร้านออกแบบให้ออกแบบ โฆษณาได้ เรียกว่าแทบจะครบวงจร ทั้งออกแบบและผลิตออกมาเป็นป้ายโฆษณา การออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยหลักการก็ไม่มีอะไรมากมาย ควรเน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ สามารถสื่อความหมายได้ดี และควรออกแบบให้ข้อมูลมีความเป็นระเบียบ สวยงาม และชัดเจน ทั้งข้อความและภาพประกอบ
ตามประสบการณืที่รับจ้างแจก มาจะประสบความสำเร็จง่ายๆ
ตอบลบ1.รูปแบบใบปลิวต้องดูดี น่าจับ น่าหยิบ
2. กลุ่มเป้าหมายตรง แม่น คือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเด็กวัยรุ่น ใบปลิวก็เหมาะกับเด็กวัยรุ่น แต่ไปตรงที่เป็นแหล่งคนทำงานก็ไม่รุ่ง
3.ชุดคนแจก ต้องมีคอนเซ็ป
4. อย่าลืม ยิ้ม
5.อย่าลืม คำว่า ฟรี
เท่าที่รับจ้างมา เท่านี้ ก็แจกไม่เหลือ
ตัวอย่างที่ เห็นชัดๆคือ อากิโกะ แจกกี่ครั้ง ไม่เคยเหลือ มีคนโยนทิ้งน้อยมาก
แถมยังเดินมาขอกันอีก